เทคโนโลยี MIMO (Multiple-Input Multiple-Output)
MIMO เป็นระบบ Wireless
ที่สามารถให้ผู้ใช้ได้ในระยะทางที่มากขึ้นและประหยัดกว่าเดิม สำหรับ
MIMO ถือว่าเป็น chip ที่ใช้เทคนิคที่เรียกว่า
Orthogonal Frequency Division Multiplexing (OFDM)ที่มีการใช้งานในเครือข่ายโทรศัพท์
802.11a/g และ Wi max
อุปกรณ์ Wireless เวลาเจอสัญญาณสะท้อนมากๆ
ก็จะไม่สามารถรับสัญญาณได้ เนื่องจากสัญญาณในตัวเองรบกวน ลักษณะของ MIMO จะเป็นการเพิ่มจำนวนเสาเข้าไปให้กับอุปกรณ์
Wireless เพื่อให้รับสัญญาณได้ดียิ่งขึ้น
แม้ระยะที่ไกลออกไปหรือสัญญาณรบกวนมาๆ ก็สามารถรับส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิค MIMOยังทำให้เราเตอร์มีระยะทำการที่เพิ่มขึ้นได้ด้วยการรับสัญญาณจากเสาอากาศหลายๆ
อัน
ทำให้สามารถเลือกสลับไปมายังเสาอากาศที่สามารถรับสัญญาณได้ดีกว่าได้ในทุกๆสถานการณ์
วิธีการทำงานของเสาอากาศ MIMO
เสาอากาศที่มากกว่าจะรับสัญญาณได้
กว่า แต่ผู้ผลิตจะใช้วิธีการจัดวางเสาในการคัดแยกสัญญาณที่แตกต่างกันออกไป
โดยเราเตอร์บางรุ่นจะใช้วิธีการคัดแยกสัญญาณจากทิศทางโดยอาศัยระยะเวลาในการเดินทางของคลื่น
หรือบางรุ่นวิเคราะห์จากสัญญาณแม่เหล็ก (Polarization)
สาเหตุก็คือ
คลื่นสัญญาณแต่ละคลื่นที่สะท้อนไปมาจะมีการเสริมและหักล้างกัน อุปกรณ์เน็ตเวิร์กไร้สายยุคใหม่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการใช้เสาอากาศหลายๆ
อัน ซึ่งเมื่อเสาอากาศใดเสาหนึ่งอยู่ในจุดอับ
เสาอากาศอีกเสาหนึ่งก็จะทำการับส่งสัญญาณแทนทันที
และเพื่อให้เสาอากาศสามารถทำงานได้ แต่ละเสาจะต้องอยู่ห่างกัน 1
ช่วงคลื่นหรือจำนวนเท่าที่มากกว่า ซึ่งสำหรับ W-LAN แล้วจะคิดเป็นระยะห่างประมาณ 12 เซนติเมตร
และการคำนวณหาความยาวคลื่นก็สามารถทำได้โดยนำความเร็วในการแพร่กระจายมาหารด้วยความถี่ของสัญญาณ
ด้วย MIMO การเชื่อมต่อระหว่าง AP กับ Wireless
client จะมีการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 108 เมกะบิต ซึ่งเป็น 108
ที่ไม่เหมือนกับเทคโนโลยี 108 ที่วางตลาดกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เพราะ MIMO ใช้จำนวน Channel ที่น้อยกว่านั่นเอง
พูดในอีกแง่หนึ่งคือ เราสามารถจะมี Channel เหลือสำหรับการสร้าง
Wireless network วงต่อ ๆ ไปได้ ในขณะที่ MIMO ก็ยังคงทำงานที่ 108 เมกะบิตไปได้ด้วย
ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับเครือข่ายไร้สายหลายรายต่างก็นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน
IEEE 802.11g ออกมาอย่างหลากหลาย
แต่ได้ใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป
ทำให้สามารถทำอัตราความเร็วได้มากกถึงระดับ 108 เมกะบิตต่อวินาทีเลยทีเดียว
และด้วยเทคโนโลยีที่แตกต่างกันนี้เองทำให้เกิดความไม่เข้ากันของผลิตภัณฑ์ที่รองรับ
108 เมกะบิตต่อวินาทีของแต่ละค่าย
สำหรับการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่รองรับอัตราความเร็ว
108
เมกะบิตต่อวินาทีต่างผู้ผลิตกันนั้นถ้าผู้ผลิตใช้ชิปเซ็ตซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีเดียวกันก็สามารถใช้งานอัตราความเร็วในระดับนี้ได้
แต่ถ้าใช้เทคโนโลยีแตกต่างกันอัตราความเร็วสูงสุดที่ใช้งานได้ก็จะเหลือเพียง 54
เมกะบิตต่อวินาที เท่านั้น
ผู้ผลิตหลายๆ รายต่างก็นำเสนอผลิตภัณฑ์ซีรีส์ Pre-N ออกสู่ตลาด โดยผนวกรวมความสามารถของเทคโนโลยี MIMO
(Multiple-Input Multiple-Output) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มอัตราความเร็วให้กับผลิตภัณฑ์ไร้สายมากกว่ามาตรฐาน
IEEE 802.11g ถึง 600%
และให้รัศมีการใช้งานมากกว่าเดิม 800% ร่วมด้วย โดย Pre-N เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน
IEEE 802.11n ซึ่งจะเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายในอนาคตอันใกล้นี้
สำหรับเทคโนโลยี Pre-N ได้ผนวกรวมมากับหลายผลิตภัณฑ์ของหลายๆ
ผู้ผลิต ในขณะที่ข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE 802.11n ยังไม่ถึงเวลาสิ้นสุด การเลือกผลิตภัณฑ์ Pre-N เพื่อให้ความคุ้มค่าและประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด
ควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตรายเดียวกัน หรือผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันเท่านั้น
Trendnet เน็ตเวิร์คแบรนด์ดังจากอเมริกา
ได้คำนึงถึงอุปสรรคดังกล่าว จึงได้คิดค้นและพัฒนา Technology MIMO ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นPC Card , Access Point และRouter
ข้อดีของเทคโนโลยี MIMO
1. เทคโนโลยีไร้สายแบบ MIMO ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ท่อสัญญาณได้เต็มประสิทธิภาพ
การส่งข้อมูลทำได้เร็วกว่าเทคโนโลยีแบบเดิม
2. เทคโนโลยี MIMO ในปัจจุบัน
ยังมีการประยุกต์ใช้กัยเทคโนโลยีอื่นๆ อีก เช่น พัฒนาเพื่อใช้งานภายในบ้านแบบดิจิตอล
ในการใช้เครือข่ายไร้สายเพื่อรับชมวิดีโอผ่านทางเครือข่ายได้ทั่วทุกมุมทุกห้องของบ้านได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสียของเทคโนโลยี MIMO
1. อุปกรณ์ปลายทางทุกตัวทีเชื่อมต่อกับตัวแม่ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี MIMO ด้วยเช่นกัน
สรุปคือตัวแม่และตัวลูกจะต้องเป็นเทคโนโลยี MIMO เหมือนกัน จึงจะสามารถใช้งานแบบ MIMO ได้เต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้เทคโนโลยี MIMO ยังมีราคาค่อนข้างสูงกว่าเทคโนโลยีแบบเดิมอีกด้วย
2. เทคโนโลยี MIMO ก็ยังไม่สามารถเข้ากับอุปกรณีไร้สายได้ไร้สายได้ทุกประเภท
เนื่องจากเทคโนโลยี MIMO จะ เหมาะกับการประยุกต์ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายข้อมูล
หรือเครือข่ายที่ใช้สัญญาณภาพและเสียงเป็นหลัก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น